ถึงแม้ว่าสิวจะหายไปแล้ว แต่ก็ยังคงทิ้งร่องรอยต่าง ๆ เอาไว้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นรอยดำ รอยแดง หรือหลุมสิว และบางครั้งการรักษาด้วยครีมอย่างเดียวก็ไม่เพียงพอ โดยเฉพาะปัญหาหลุมสิวที่รักษาค่อนข้างยาก และต้องใช้เวลานานพอสมควร วันนี้ไอบีจะพาทุกคนทำความรู้จักกับหลุมสิวให้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสาเหตุการเกิด ระดับความรุนแรง รวมถึงวิธีการรักษาด้วย
สาเหตุส่วนใหญ่การเกิดหลุมสิว
หลุมสิวที่เกิดขึ้นอาจเป็นแค่หลุมเล็กๆ ผิวขรุขระ ไม่เรียบเนียน ไปจนถึงเป็นหลุมลึกรักษายาก โดยจะเกิดมาจากการอักเสบของสิว ซึ่งการอักเสบนี้จะกินลึกลงไปถึงชั้นใต้ผิวหนัง เชื้อแบคทีเรียจะเข้าไปทำลายคอลลาเจน (Collagen) และเนื้อเยื่อโดยรอบจนเกิดเป็นแผลวงกว้าง แม้ว่าการอักเสบจะหายไปแล้ว แต่กระบวนการซ่อมแซมเนื้อเยื่อนั้นเป็นไปได้ช้า ส่งผลให้เกิดการยุบตัวของผิวในที่สุดนั่นเอง
ระดับความรุนแรงของหลุมสิว
ระดับความรุนแรงทั่วไป (Rolling scar) ระดับนี้หลุมสิวจะมีลักษณะตื้นๆ เป็นแอ่งเว้าลงไป ความลึกของหลุมสิวอยู่เฉพาะพื้นที่ส่วนบนผิว ฉะนั้นการรักษาจึงง่ายกว่าหลุมสิวระดับอื่น
ระดับความรุนแรงปานกลาง (Box scar) ระดับนี้หลุมสิวจะมีลักษณะเป็นบ่อ ลึกกว่า Rolling scar แต่ไม่ลึกถึงชั้นรูขุมขน รอยหลุมมีขอบชัดเจนและมีขนาดกว้าง
ระดับความรุนแรงที่สุด (Ice pick Scar) รอยหลุมจะมีลักษณะขอบชัด ปากหลุมแคบ และลึกมากลงไปถึงชั้นหนังแท้หรือชั้นใต้ผิวหนัง จึงทำให้ยากต่อการรักษา
การรักษาหลุมสิว
1. รักษาด้วยตนเองโดยการทายาหรือทาครีม โดยตัวครีมหรือตัวยาที่นำมาใช้ส่วนมากจะเป็นจำพวก กรดวิตามิน A TCA BHA PHA เพราะกรดเหล่านี้จะช่วยเร่งการผลัดเซลล์ผิวที่ตาย และกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนใหม่มาทดแทน
2. รักษาด้วยเข็ม ประกอบด้วยหลายวิธี ดังนี้
2.1 เมโสฟิลเลอร์ (Meso filler) เป็นการฉีดสารเติมสารจำพวก Hyaluronic Acid เข้าไปบริเวณหลุมสิว เพิ่อเติมเต็มผิวบริเวณนั้นให้กระชับเต่งตึง รอยหลุมสิวตื้นขึ้น ซึ่งจะเหมาะสำหรับหลุมสิวแบบ Rolling scar และ Box scar
2.2 Subcision (การเลาะพังผืดใต้ผิวหนัง) เป็นการใช้เข็ม Nokor ที่ปลายเข็มมีลักษณะคล้ายมีดเล็กๆ โดยแพทย์จะทำการสอดเข็มลงไปชั้นใต้ผิว แล้วค่อย ๆ ทำการเซาะบริเวณหลุมสิวเพื่อให้เกิดแผลใต้ชั้นผิว กระตุ้นการสร้างการคอลลาเจน และอีลาสติน จะเหมาะสำหรับหลุมสิวแบบ Rolling scar และ Box scar
3. การรักษาด้วยเทคโนโลยี
3.1 Fractional RF การปล่อยพลังงานไฟฟ้าที่มีความถี่ในช่วงคลื่นวิทยุลงสู่ชั้นใต้ผิวหนัง โดยจะปล่อยพลังงานเป็นจุดเล็ก ๆ เกิดการสะสมความร้อนใต้ชั้นผิวและความร้อนนี้ส่งผลให้เกิดแผลขนาดเล็ก ช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและอีลาสติน ทำให้ผิวกระชับเต่งตึง หลุมสิวตื้นขึ้นได้นั่นเอง
3.2 Fractional Co2 การปล่อยลำแสงเลเซอร์เป็นจุดเล็กๆ ลงไปชั้นผิวที่ต้องการทำให้เกิดรูเล็ก ๆ ขึ้นในผิว ช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน และอีลาสตินใหม่ขึ้นมาอย่างรวดเร็ว
3.3 Derma Pen /Derma Roller เป็นการนำเครื่องมือที่มัลักษณะเป็นเข็มเล็กๆ จิ้มลงไปบริเวณชั้นผิว จนเกิดเป็นแผลในชั้นผิว ทำให้ร่างกายจะเข้าสู่กระบวนการซ่อมแซมผิวใหม่ เกิดการกระตุ้นคอลลาเจน และอีลาสติน ผิวจึงฟื้นตัวเร็ว ส่งผลให้หลุมสิวตื้นขึ้นด้วย
3.4 IPL (Intense pulsed light) เป็นการใช้แสงที่มีหลายความยาวคลื่น ส่งผ่านพลังงานลงสู่ชั้นใต้ผิวหนัง ความร้อนที่เกิดใต้ชั้นผิวจะไปช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน และอีลาสตินได้
ปัจจุบันการรักษาหลุมสิวนั้น สามารถทำได้หลายวิธี และเราไม่สามารถบอกได้ว่าวิธิใดดีที่สุด เพราะมันขึ้นอยู่กับระดับปัญหาหลุมสิว และความเหมาะสมทางกายภาพของผู้ที่ทำการรักษาเองด้วย
Comments